นักเคลื่อนไหวชาวอิรักและนรีแพทย์ชาวคองโก คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในการยืนหยัดเพื่อยุติความรุนแรงทางเพศ
FILE - Former Islamic State captive Iraqi Yazidi Nadia Murad, center, speaks during a visit in a makeshift refugee camp at the northern Greek border point of Idomeni, Greece, April 3, 2016.
นาเดีย มูรัด วัย 25 ปี ชาวยาซีดีในอิรัก ผู้เป็นทั้งนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ภายใต้โครงการ Nadia’s Initiative ผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศโดยกลุ่มไอเอส ขณะที่นายแพทย์เดนิส มุควีจี วัย 63 ปี นรีแพทย์ชาวคองโก ที่ช่วยเหลือดูแลเหยื่อที่ถูกประทุษร้ายทางเพศในโรงพยาบาลที่เขาเป็นผู้บริหาร คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกัน ในฐานะที่ผลงานของทั้งคู่ มีเป้าหมายในการยุติการใช้ความรุนแรงทางเพศเป็นอาวุธในภาวะสงครามและความขัดแย้ง
FILE - Denis Mukwege, right, is seen with staff members and patients at the Panzi Hospital he runs in Bukavu, eastern DRC. (E. Muhero/VOA)
ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นสัปดาห์ มีการประกาศรางวัลโนเลสาขาการแพทย์, ฟิสิกส์ และเคมี และจะประกาศรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม
แต่ปีนี้ คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบล ประกาศว่า จะไม่มีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี หลังจากตกเป็นประเด็นอื้อฉาวว่าหนึ่งในผู้มีอิทธิพลต่อการพิจารณารางวัลโนเบล พัวพันในประเด็นการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ