Your browser doesn’t support HTML5
Thai Diaspora US Election Pt. 5 Thai Poll Workers
“หลังจากเราไปเทรน (ฝึก) มาเขาก็จะให้เอกสารมา 3 เล่ม คือหนังสือคู่มือการเลือกตั้ง (Election Guide), EPoll BookGuide หรือ คู่มื่อใช้งานเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ สำหรับเจ้าหน้าที่เลือกตั้ง และ BMD Guide คู่มือใช้งานเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งสำหรับผู้มาใช้สิทธิ์ คือเขาจะให้เราไปศึกษาหนังสือคู่มือทั้ง 3 เล่มนี้ เพราะว่าเวลาเกิดปัญหา ณ หน่วยเลือกตั้งในวันทำการเลือกตั้งจริง เราจะได้แก้ ปัญหาได้..”
ณัฐพล โพธิ์เศษ นักศึกษาไทยในนครลอส แอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย อธิบายถึงเอกสารคู่มือและหนังสือแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่เขาได้รับหลังผ่านการฝึกอบรม และกำลังเตรียมนำไปปรับใช้จริง ในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง
Poll worker Nattapol Pohset,shows the election guide books during his interview with VOA Thai in Los Angeles, California, U.S. October 19 , 2020.
.เรามีโอกาส เขาเปิดรับสมัครให้มาทำได้ เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ว่า เราจะขับเคลื่อนตรงนี้ยังไง แล้วไปบอกคนไทยต่อ ๆไป ยังไงว่า ตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี อยากให้เขาเข้ามาร่วมในโอกาสครั้งต่อไป ...ณัฐพล โพธิ์เศษ จนท.อาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง รัฐแคลิฟอร์เนีย
ณัฐพลเคยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมาแล้วในการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคเมื่อกลางปีที่ผ่านมา แต่สนามเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯที่จะมาถึงนี้ จะเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่ท้าทายมากขึ้นของการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยของอเมริกา
"..เราอยากมีประสบการณ์การทำงานระดับชาติของสหรัฐฯ งานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย คือ ทุกๆ 4 ปีจะมี 1 ครั้ง เราก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสถานการณ์การเลือกตั้ง หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการเลือกตั้ง เพราะว่าเป็นงานสำคัญที่ทุกคนเฝ้าจับตามองว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป.."
A poll worker helps a woman with her ballot in early voting at the Fairfax County Government Center, Sept. 18, 2020, in Fairfax, Virginia.
"..เรามีโอกาส เขาเปิดรับสมัครให้มาทำได้ เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ว่า เราจะขับเคลื่อนตรงนี้ยังไง แล้วไปบอกคนไทยต่อ ๆไป ยังไงว่า ตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี อยากให้เขาเข้ามาร่วมในโอกาสครั้งต่อไป ถ้าทุกคนมีโอกาส ก็อยากเชิญชวนให้ทุกคนเข้ามาทำ.." เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งเชื้อสายไทย ในรัฐแคลิฟอร์ฺเนีย กล่าวกับ 'วีโอเอ ไทย
หนึ่งในเหตุผลสำคัญของการมีอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเข้าใจและพูดได้หลากหลายภาษา จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่หลากเชื้อชาติในอเมริกา
“บางสถานที่บางพื้นที่ชุมชนนั้น อาจจะมีคนไทยอยู่เยอะ และที่ในสหรัฐฯเขาเปิดกว้างหลายภาษา ซึ่งเขาอาจจะไม่เข้าใจภาษาอังกฤษโดยตรง และอาจจะเป็นภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาไทย ภาษาสเปน เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น หรือ เกาหลี ฯลฯ ดังนั้นแต่ละหน่วยเลือกตั้งจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถทราบถึงภาษาพื้นฐานของแต่ละบุคคลที่เข้ามาเลือกตั้ง เพื่อที่เขาอยากจะให้ผู้ที่มาเลือกตั้งเข้าใจถึงการเลือกตั้งจริงๆ และคนที่ทำงานหน่วยเลือกตั้งสามารถอธิบายได้ชัดเจนในภาษาที่เขาเข้าใจ”
ไม่เพียงแต่ความหลากหลายทางเชื้อชาติเท่านั้น อายุก็ไม่ใช่ข้อจำกัดของอาสาสมัครที่จะมีส่วนร่วมทำงานในหน่วยเลือกตั้ง
Your browser doesn’t support HTML5
รายงานพิเศษ : เปิดใจเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งคนไทยในอเมริกา
เจริญคิส กฤษณายุทธ ชาวไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในวัยกว่า70 ปีคนนี้ พิสูจน์มาแล้วในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พร้อมกับประสบการณ์ที่ประทับใจหลังการสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งที่ผ่านมา
“มีส่วนร่วมด้วย คือให้เรามีวิจารณฐญานให้เราไปร่วม มีสิทธิ์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเราควรจะภาคภูมิใจ (ที่ได้มีส่วนร่วม) ถ้าใครยังอยากจะไป ไม่รู้ว่าเขายังเปิดอยู่หรือเปล่าตอนนี้ โดยเฉพาะคนที่อายุน้อย อย่างดิฉันอายุ 70 แล้วค่ะ ไปเลยเขาสอนให้ คนไม่เป็นแม้กระทั่ง จริง ๆ นะ เปิดคอมพิวเตอร์ ใครเป็นมั่ง ก็จะบอกเปิดคอมพิวเตอร์ตรงนี้ มือซ้าย มือขวา จะบอกให้หมด แล้วค่อยๆเรียน ศึกษา ตรวจสอบคนที่มาเลือกตั้งอย่างไร เขาสอนหมด”
Charoenkiss,a Thai Poll Worker talks with VOA Thai in Los Angeles, California, U.S. October 15 , 2020.
แม้ปีนี้ สถานการณ์โควิด-19 จะทำให้เจริญคิส ตัดสินใจขอเว้นการทำหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง แต่เธอก็ยังคงสนใจการเมือง และไม่หยุดที่จะทำหน้าที่รณรงค์ให้ผู้คนโดยเฉพาะชาวไทยให้ออกไปมีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์ลงคะแนนให้มากที่สุด
“ กรุณาเถอะค่ะ (ไปใช้สิทธ์) ปีนี้รู้สึกคนจะตื่นตัวมากขึ้น อยากแนะนำให้มากขึ้น เมื่อ 4 ปีที่แล้วยังพอโอเค แต่ก็ตื่นเต้น..เรามีความสามารถมีสมองคิด ศึกษา ใครทำอะไรไว้ให้เรา อะไรที่เรามีสิทธิ์ เราเลือกได้ เราก็ควรเลือก(ตั้ง)”
การระบาดของโควิด-19 ทำให้อาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ Poll worker ที่เป็นผู้สูงอายุในหลายรัฐตัดสินใจลดความเสี่ยงและไม่ออกไปทำหน้าที่เหมือนเช่นเคย ทำให้ต้องเปิดรับอาสาสมัครคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าเข้าทำงานแทน
เพราะตอนนี้ ปีนี้เราก็รู้ไงส่วนใหญ่คนที่ทำงานโพลเวิร์กเกอร์ นี้ ก็จะอายุมากหน่อย ส่วนใหญ่เขาอาจจะมีโรคประจำตัวที่อยู่ก่อนแล้ว เขาอาจจะกลัว แล้วเราก็รู้ว่าเราเป็นคนอายุ 30 กว่า เราก็ช่วยได้เราไม่กลัวโควิด มากเท่าที่เขากลัว เราก็อยากเป็น โพลเวิร์กเกอร์ก็จะช่วยได้ ...ปณิธิ โตสุขศรี จนท.อาสาฯประจำหน่วยเลือกตั้ง นครคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ
Tom Pahniti Tosuksri, Thai-American voter in Cleveland, OH.
ปณิธิ โตสุขศรี ชาวไทยในนครคลีฟแลน์ รัฐโอไฮโอ เป็นส่วนหนึ่งของผู้อาสาจะไปทำหน้าที่สำคัญนี้
“ตอนนี้เราก็สมัครเป็น โพลเวิร์กเกอร์ (Poll Worker-เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้ง) ด้วย เราจะได้ช่วย เพราะตอนนี้ ปีนี้เราก็รู้ไงส่วนใหญ่คนที่ทำงานโพลเวิร์กเกอร์ นี้ ก็จะอายุมากหน่อย ส่วนใหญ่เขาอาจจะมีโรคประจำตัวที่อยู่ก่อนแล้ว เขาอาจจะกลัว แล้วเราก็รู้ว่าเราเป็นคนอายุ 30 กว่า เราก็ช่วยได้เราไม่กลัวโควิด มากเท่าที่เขากลัว เราก็อยากเป็น โพลเวิร์กเกอร์ก็จะช่วยได้” ปณิธิ โตสุขศรี กล่าว
A poll worker wearing personal protective equipment deposits a Vote-by-Mail ballot for a voter, Monday, Aug. 3, 2020, at a poling station at the Miami-Dade County Elections Department in Miami. Monday marked the first day of early voting for the…
นอกจากจะอาสาตัวเองไปทำงานเพื่อส่วนรวมแล้ว เป้าหมายสำคัญของปณิธิ คือการรณรงค์ให้ผู้คนในเมืองที่เขาอาศัย ตื่นตัวและมีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มากที่สุด
“ถ้าเกิดนั่งเฉยๆ เราก็มีสิทธิ์แค่คนเดียว แต่ถ้าเราไปเป็นอาสาสมัครรับลงทะเบียนเลือกตั้ง อาสาเป็นโพลเวิร์กเกอร์ (เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้ง) แล้วก็บอกคนอื่นว่าเราทำแบบนี้ ให้เขารู้สึกว่าอยากทำด้วย ก็จะได้ไม่ใช่แค่เรา ก็จะได้อีก 5-6 คนเป็นโพลเวิร์กเกอร์ ได้อีก 5-6 คนไปอาสาทำลงทะเบียนเลือกตั้ง อีก ส่วนอีก 5-6 คนอื่นโน้น ก็จะได้อีก 5 คน ก็จะได้เพิ่มอีก 5 คน เราก็รู้สึกดีขึ้นว่าเราทำได้มากกว่าคะแนนเสียงของเราทำได้” เจ้าหน้าที่อาสาฯหน่วยเลือกตั้งเชื้อสายไทย ที่รัฐโอไฮโอ กล่าวกับ 'วีโอเอ ไทย'
การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้งในทุกระดับยังคงเป็นหน้าที่สำคัญของพลเมืองในสหรัฐฯ รวมไปถึงชาวเชื้อสายไทยในอเมริกาที่แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยแต่หากมีการรวมพลังจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งและกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองในทิศทางเดียวกันก็จะสามารถเพิ่มการต่อรองให้ชาวชุมชนไทยในอเมริกาได้มากขึ้น